วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีการติดตั้งแก๊สรถยนต์ LPG

ตอบคำถามข้อที่ 2


ความรู้ความสามารถที่ผมมี คือ การติดตั้งแก๊สรถยนต์ LPG
ผมหวังว่าความรู้ที่ผมนำมาเผยแพร่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและผู้ที่ศึกษา
การติดตั้งถังแก๊ส
1.ต้องใช้แผ่นเหล็กรองด้านล่างของฐานถังก๊าซ หนาอย่างน้อย 2 - 3 มิล กว้าง X ยาวอย่างน้อย 1 - 2 นิ้ว (การใช้แหวนอีแป๊ หรือน๊อตยึดเพียวๆ เป็นสิ่งที่ไม่แน่หนา เพราะตัวถังรถมีความเปราะบางมาก จุดรับแรงยึดต่ำ ถังก๊าซอาจจะโยกคลอนได้ ถ้าได้รับแรงสั่นสะเทือนมากๆ หรือแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ การใช้น็อต และแหวน อาจทำให้ตัวถังฉีกขาดได้ทันที)
2. ยางรองหน้าแปลนยึด ใช้ยางแข็งๆ ขนาดความหนา 2 มิลขึ้นไป รองทั้งบน และล่าง ยางนี้จะเป็นการช่วยลดความเสียหายของตัวถัง และเสียงดังในกรณีน็อตยึดเกิดคลายตัว และป้องกันน้ำเข้ารถ
3. น็อตยึด ควรใช้น็อต ขนาด 14 – 17 มิลิเมตรขึ้นไป ขนาดความแข็งที่ใช้กับรถยนต์ ไม่ควรใช้น็อตก่อสร้าง
4. เมื่อเจาะรูยึดแล้ว ต้องทำการพ่นสีกันสนิม หรือทาสีกันสนิม เพื่อป้องกันการตัวถังรถผุ
5. ถังเมื่อยึดเรียบร้อยแล้ว ต้องไม่มีอาการโยกไปมา ต้องเป็นชิ้นเดียวกับตัวถังรถยนต์มากที่สุด
6. เหล็กฉากยึดถังก๊าซควรใช้เหล็กฉากที่มีความกว้าง 2- 3 นิ้ว หนาๆไม่ต่ำกว่า 3 มิลิเมตร
7. หลังจากติดตั้งถังแล้ว ยางอะไหล่ต้องสามารถยกถอดได้ตามปกติ โดยการสร้างขายึดถังให้สูงขึ้น
มาตรฐานการติดตั้งถัง
เมื่อทำการยึดถังเสร็จแล้ว ถังต้องรับแรง G (แรงกระทำ หรือแรงกด นับจาก 1G คือแรงโน้มถ่วงของโลก) ด้านหน้า หลัง ที่ 20 G, ด้านข้างที่ 8 G, และด้านบน-ล่าง 4.5G เป็นอย่างน้อย (ช่างที่ขนส่งจะใช้วิธีดันที่ถังแรงๆ ถ้ามีการโยกคลอนจะถือว่าติดตั้งไม่ผ่าน)
การติดตั้งหม้อต้ม
1.ติดตั้งหม้อต้มให้อยู่ห่างจากจุดกำเนิดประกายไฟให้มากที่สุด เช่นจานจ่าย กล่องฟิวส์ แบตเตอร์รี่ สายหัวเทียน หรือจุดอื่นๆ
2.หม้อต้มทุกรุ่นจะกำหนดต่ำแหน่งการติดตั้ง เช่น ต้องตั้งตรง หรือ เอียง 30 – 45 องศา ด้านบน และด้านล่าง การติดตั้งไม่ถูกวิธี จะทำให้การจ่ายแก๊สผิดพลาด หรืออายุการใช้งานสั้นลง
3.ท่อน้ำอุ่นหม้อต้ม ต้องหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละเครื่อง เช่นการพ่วงจากท่อฮีตเตอร์ หรือท่อน้ำเลี้ยงคาบู หรือต่อ 3 ทางในจุดที่เหมาะสม ท่อยางน้ำ และเหล็กรัดอย่างดี
4.ท่อแก๊สเข้า จุดนี้มีแรงดันก๊าซสูง ต้องสวมฟิตติ้ง หรือตาไก่ ให้แม่นยำป้องกันเกลียวไขหวาน (เกลียวเสีย) อาจต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งหม้อต้ม หรือมีการขดท่อไว้หลายๆวง เพื่อเป็นลดแรงกระชาก ของท่อแรงดัน ในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
มาตรฐาน ต้องติดตั้งหม้อต้มให้ห่างจากจุดกำเนิดประกายไฟ และความร้อนไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร
การติดตั้ง
1 .การติดตั้งหัวรับก๊าซ จุดที่ดีที่สุดอยุ่บริเวณหูลากรถ ใต้กันชนลักษณะอียงลงพื้นถนนเพียงเล็กน้อย ราว 30 – 45 องศา ห่างจากพื้นถนนให้ได้มากที่สุด และต้องไม่ยากในการไขหัวเติมจากปั้มก๊าซ
2. ประกอบท่อรับก๊าซ กับหัวเติม ร้อยผ่านท่อระบายไอ มายังด้านขาเข้าของมัลติวาล์วด้วย ฟิตติ้ง (ตาไก่) ให้แน่นหนา
3. หัวรับก๊าซ และท่อรับก๊าซ ควรห่างจากท่อไอเสียขั้นต่ำ 10 Cm หรือหาวัสดุมากั้นเพื่อป้องกันความร้อน
มาตรฐานการติดตั้งหัวเติม ต้องมีความแน่นหนายึดติดกับตัวถังโดยรับแรงกระชากได้ไม่ต่ำกว่า 67 กิโลกรัม (ใช้น้ำหนักถ่วง 67 กิโลต้องไม่หลุด) เพื่อป้องกันเมื่อเกิดรถไหล

       การติดตั้งท่อเดินก๊าช จะเป็นท่อทองแดงต่อจาก ถังก๊าซร้อยผ่านท่อระบายก๊าซ แล้วเดินผ่านตัวถังรถด้านล่าง ไปยังหม้อต้ม หรือกรองก๊าซ การเดินท่อแรงดันสูงจะต้องอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร และต้องมีฉนวนกันการเสียดสีหุ้มตลอดความยาวของท่อ จุดยึดหรือแคมป์ยึดห่างไม่ต่ำกว่า 50 – 100 เซนติเมตร (ตามกฎหมาย) ระหว่างท่อและแคมป์รัดต้องมีวัสดุรองเพื่อไม่ให้เหล็กสัมผัสกับท่อโดยตรง ท่อแรงดันต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดยื่น หรือห้อยออกมาเกินส่วนของตัวถังรถยนต์ เพื่อป้องกันการเสียดสี หรือชนกับลูกระนาดถนน หรือวัสดุอื่นๆที่ไม่คาดคิด การม้วนท่อเป็นวง เป็นการลดแรงกระชากของท่อ และอุปกรณ์ต่างๆ หรือความโค้งตามจุดต่างๆ ไม่ควรเล็กเกินไป เพราะจะทำให้ท่อทองแดงคอดตัว ก๊าซไหลไม่สะดวก ท่อก๊าซต้องห้ามมีข้อต่อโดยเด็จขาด ควรเป็นท่อเส้นเดียวกันระหว่างถังก๊าซ จนถึงโซลินอยเปิดแรงดันก๊าซ
การติดตั้งติดตั้งมิกเซอร์ และวาล์วปรับก๊าซ
ต้องติดตั้งไว้ก่อนทางเข้าลิ้นปีกผีเสื้อ และมิกเซอร์ นี่หละที่เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการขวางกันอากาศ กำลังเครื่องยนต์จึงตกลง ซึ่งเราช่วยได้ด้วยการขัดขยายคอคอดให้กว้างมากขึ้นได้เล็กน้อย ลดเหลี่ยมมุมต่างๆ และขัดลื่นเพื่อให้อากาศไหลเข้าสะดวกมากขึ้น แต่ถ้ามากเกินไปการปรับก๊าซที่วาล์วจะปรับตั้งได้ยากมากขึ้น ซึ่งวาล์วปรับก๊าซจะต้องติดตั้งอยู่ระหว่างหัวจ่ายก๊าซจากหม้อต้ม มายังมิกเซอร์เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

การประมวลผลความรู้เรื่องโลจิสติกส์

ตอบคำถามข้อที่ 1

            จากการประมวลความรู้ทั่วไปในเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ผมได้ประมวลความรู้เกี่ยวกับระบบการพัฒนาโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ หรือ การรับส่งดูแลสินค้าและบริการนับวันจะทวีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยเป็นอย่างมาก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพลวัตรของกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง เช่นในปัจจุบัน
            ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเร่งพัฒนาการจัดการและบริหารเรื่อง        โลจิสติกส์อย่างจริงจัง เพื่อไม่เพียงแต่เป็นการพัฒนากลไกสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและการค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก แต่ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
             การเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย นอกจากการพัฒนาเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง หรือ “Hardware”   ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว   ประเทศไทยยังจะต้อง เร่งพัฒนากลไกทางการค้าอื่นๆ เพื่อรองรับระบบดังกล่าวหรือ “Software” ควบคู่ไปด้วย
            ทั้งนี้กลไกทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์นี้ อาจเรียกว่า “Trade Logistics” หรือ      โลจิสติกส์ทางการค้า ซึ่งครอบคลุมในประเด็นสำคัญๆ อยู่ 3 ประเด็นอันได้แก่ 1) เรื่องเครือข่ายและช่องทางการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ 2) เรื่องธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์ที่ช่วยสนับสนุนให้ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวมและการกระจายสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพสูงขึ้น,  และสุดท้าย 3) เรื่องการอำนวยความสะดวกในด้านพิธีการและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้าต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนและเวลาที่รวดเร็วยิ่ง

ข้อจำกัดและประเด็นสำคัญ ในการพัฒนาโลจิสติกส์ทางการค้าด้านต่างๆ
            การพัฒนาโลจิสติกส์ทางการค้าในภาพรวม สามารถแบ่งการพัฒนาออกได้เป็น 3 ด้านซึ่งได้แก่ ด้านการค้าผลผลิตทางการเกษตร ด้านการค้าระหว่างประเทศ, และด้านของธุรกิจบริการด้านโลจิสติกส์